เมนู

ไม่มีแก่เธอ และตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมหวังอานิสงส์ 4 ประ
การ แห่งธรรมทั้งหลายตามที่ตนได้ฟังมา แห่งธรรมทั้งหลายที่ตนแทงตลอด
แล้ว ฯลฯ และว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการเหล่านี้ อันภิกษุอบรมแล้ว
โดยชอบ ปฏิบัติตามโดยชอบตามกาล ย่อมให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายโดยลำดับ.
4 ประการคืออะไรบ้าง คือ การฟังธรรมตามกาล 1 ดังนี้เป็นต้น
ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 5 ประการคือ
ความคารวะ 1
ความถ่อมตน 1
ความสันโดษ 1
ความเป็นผู้กตัญญู 1
การฟังธรรมตามกาล 1 ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายให้แจ่มแจ้ง
แล้วในมงคลข้อนั้น ๆ นั่นแล.
จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า
คารโว จ นิวาโต เป็นต้น

คาถาที่ 8

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ขนฺตี จ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.
ความอดทน ชื่อว่า ขันติ.

การว่ากล่าวได้โดยง่าย เพราะความเป็นผู้ปกติรับด้วยมือขวา(เคารพ)
มีอยู่ในบุคคลนี้ เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงชื่อว่า สุวโจ ผู้ว่าได้โดยง่าย.
กรรมของผู้ว่าง่ายนั้นชื่อว่า โสวจสฺส ภาวะแห่ง โสวจสฺส นั้นชื่อว่า
โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าได้โดยง่าย.
นักบวชทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สมณะ ก็เพราะสงบระงับกิเลสเสียได้.
การดู ชื่อว่า ทัสสนะ การสนทนาซึ่งพระธรรมชื่อว่า ธัมมสากัจฉา
คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี่คือการพรรณนาเฉพาะบท ส่วน
การพรรณนาเนื้อความพึงทราบดังต่อไปนี้.
อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ. ภิกษุประกอบแล้ว ด้วยขันติ ก็เป็นผู้
ไม่หวั่นไหว ราวกะว่าไม่ได้ยิน และราวกะว่าไม่ได้เห็น ในเมื่อบุคคลด่าอยู่
ด้วยอักโกสวัตถุ 10 หรือเบียดเบียนอยู่ ด้วยกรรมทั้งหลายมีการฆ่าและการจอง
จำเป็นต้น เสมือนขันติวาทีดาบสฉะนั้น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า สมณะเป็น
ผู้แสดงความอดทน ในอดีตสิ้นกาลนาน
(เพราะ) พระเจ้ากาสิกราช ได้รับสั่งให้ตัด
ซึ่งขันติวาทีดาบสนั้น ผู้ดำรงอยู่แล้วด้วย
ขันตินั้นแล
ดังนี้.
หรือว่าภิกษุย่อมมนสิการ โดยความเป็นผู้กระทำว่าดี ราวกะท่าน
ปุณณเถระผู้มีอายุ เพราะไม่ถือโทษยิ่งกว่านั้น ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า (พระ
ปุณณเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าหาก
ว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะจักด่า จักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในการด่า

บริภาษนั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ดีหนอ ที่มนุษย์เมืองสุนาปรันตกะ ฯลฯ
ดีทีเดียวหนอ ที่พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะเหล่านี้ไม่ใช้ฝ่ามือประหารข้าพระ-
องค์ดังนี้เป็นต้น และอธิวาสนขันติที่ภิกษุประกอบแล้ว เป็นผู้ที่แม้ฤาษีทั้งหลาย
พึงสรรเสริญ ดังที่สรภังคฤาษีกล่าวไว้ว่า
บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ จะไม่
เศร้าโศกในกาลไหน ๆ ฤาษีทั้งหลายสรร-
เสริญการละความลบหลู่ ท่านทั้งหลายจง
อดทนคำหยาบคายที่คนทั้งปวงกล่าวแล้ว
สัปบุรุษทั้งหลายกล่าวขันตินี้ว่าสูงสุด
ดังนี้.
ภิกษุเช่นนั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญ ดังที่ท้าวสักกะจอมเทพ
ตรัสไว้ว่า
ผู้ใดแล เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อ
คนผู้ทรุพลไว้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะคนทุรพลต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์.
1
ผู้ที่มีความอดทนแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสสรรเสริญ ดังที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอด
กลั้นต่อการฆ่าและการจองจำ เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่า
เป็นพราหมณ์.

1. สัง. สคาถวรรค 15/ ข้อ 875.

ก็ขันตินี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้รับ
คุณทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวพรรณนาไว้ในที่นี้เหล่านี้ และคุณทั้งหลายเหล่าอื่น.
การไม่ถึงความฟุ้งซ่าน หรือความเป็นผู้นิ่ง หรือคิดถึงคุณและโทษ
ในเมื่อตนถูกว่ากล่าวประกอบด้วยธรรม (แต่) ทำความเอื้อเฟื้อความเคารพ
และความอ่อนน้อมอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ดีละ (ที่ท่านได้กรุณาว่ากล่าวตักเตือน
ข้าพเจ้า) ดังนี้ชื่อว่า โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่ายนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้โอวาทและอนุศาสนี
จากสำนักของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และเพราะเป็นเหตุให้ได้ละโทษและ
บรรลุคุณ.
การเข้าไปหา การอุปัฏฐาก การระลึกถึง การฟังและการเห็นบรรพ-
ชิตทั้งหลายผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว ผู้อบรมกาย วาจา จิตและปัญญาแล้ว ผู้
ประกอบด้วยความฝึกฝนและความสงบอย่างสูง ชื่อว่า การเห็นสมณะทั้งหลาย
การเข้าไปหาทั้งหมดเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า ทัสสนะ (การเห็น) เพราะ
ไม่ได้แสดงสิ่งที่ต่ำช้า ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเหตุไร เพราะมีอุป-
การะมาก และพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเเม้การ
เห็นว่ามีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นอาทิ เพราะกุลบุตรที่
ปรารถนาประโยชน์ เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีลมาถึงประตูเรือน ถ้าหากว่า
ไทยธรรมมีอยู่ ก็พึงต้อนรับด้วยไทยธรรม ตามกำลัง ถ้าหากว่าไทยธรรม
ไม่มี ก็พึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อการไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั้น
ไม่สำเร็จ (ไหว้ไม่สะดวก) ก็พึงประคองอัญชลีนมัสการ แม้เมื่อการประคอง
อัญชลีนมัสการนั้นไม่สำเร็จ ก็พึงนั่งมองด้วยจิตที่เลื่อมใส ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง
ที่ประกอบด้วยความรัก เพราะว่าด้วยบุญที่มีการมองดูอย่างนี้เป็นมูลเหตุ โรค
นัยน์ตาก็ดี โทษก็ดี ฝ้าก็ดี ไฝก็ดี ย่อมไม่มีตลอดพันชาติเป็นอเนก เขามี

จักษุที่แจ่มใส ประกอบด้วยสิริ มีวรรณะ 5 เช่น กับด้วยหน้าต่างแก้วมณี
ที่เปิดไว้ในวิมานแก้ว เป็นผู้มีปกติได้สมบัติทุกอย่าง ทั้งในเทวโลก ทั้งใน
มนุษยโลกประมาณสิ้นแสนกัป ข้อที่บุคคลมีปัญญา เกิดเป็นมนุษย์มีปัญญา
จะพึงเสวยวิบากสมบัติเห็นปานนั้น ด้วยคุณซึ่งเกิดจากการเห็นสมณะที่เป็นไป
โดยชอบ นี้ไม่น่าอัศจรรย์ (แต่) ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสรรเสริญวิบาก
สมบัติ แห่งการเห็นสมณะซึ่งเกิดจากเหตุ เพียงศรัทธาอย่างเดียวเท่านั้น แม้
ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย อย่างนี้ว่า
นกฮูกชื่อว่าโกสิยะนี้มีนัยน์ตากลม
อยู่ที่ภูเขาเวทิยกะมานาน มีความสุขหนอ
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เสด็จลุก
ขึ้นตามกาล
นกฮูกนั้นทำใจให้เลื่อมใสในเรา
(ตถาคต) ในภิกษุสงฆ์ผู้เลิศ จะไม่ไปสู่
ทุคติสิ้นแสนกัป
เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว อันกุศล-
กรรมตักเตือนแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า
ปรากฏพระนามว่า โสมนัส ผู้มีพระญาณ
อันไม่สิ้นสุด
ดังนี้ (จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์)
ชื่อว่า การสนทนาธรรมตามกาล (กาเลน ธมฺมสากจฺฉา) ข้าพเจ้า
จะได้กล่าวต่อไป ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุนักพระสูตร 2
รูป สนทนาพระสูตรกัน นักวินัย 2 รูป สนทนาพระวินัยกัน นักอภิธรรม
2 รูป สนทนาอภิธรรมกัน พระภิกษุผู้กล่าวชาดก 2 รูป สนทนาชาดก

กัน พระภิกษุผู้เรียนอรรถกถา 2 รูป สนทนาอรรถกถากัน หรือว่าภิกษุทั้งหลาย
ย่อมสนทนากันในกาลนั้น ๆ เพื่อชำระจิตที่หดหู่ ฟุ้งซ่าน และสงสัยเป็นไป
ในเบื้องหน้า การสนทนาธรรมตามกาลนั้น ท่านเรียกว่า เป็นมงคล เพราะ
เป็นเหตุแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้ฉลาดในอาคม (ปริยัติ) เป็นต้น.
ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 มงคล คือ ขันติ 1
โสวจัสสตา 1 การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การสนทนาธรรมตามกาล 1 ดัง
พรรณนามาฉะนี้ และความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าก็ได้อธิบายไว้
ชัดเจนแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า
ขนฺตี จ เป็นต้น

คาถาที่ 9

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถามีบทว่า ตโป จ เป็นต้นดังต่อไปนี้
ธรรมที่ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่าแผดเผาบาปธรรมทั้งหลาย. ความประพฤติ
ที่ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง ความประพฤติ
ของพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า พรหมจรรย์ มีคำอธิบายว่า ความประพฤติอย่าง
ประเสริฐ. การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสจฺจานทสฺสนํ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า อริยสจฺจานิ ทสฺสนํ ดังนี้ก็มี ข้อนี้ไม่ดี.
ที่ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด ที่ชื่อว่า วานะ.
การทำให้แจ้ง ชื่อว่า สจฺฉิกิริยา.
การทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพาน ชื่อ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา.